MIS (Management Information System)
MIS คืออะไร
ระบบ
สารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS
คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ
เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง
สารสนเทศภายในและภายนอก
สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน
รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง
ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์
เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม
และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3.
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้
บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบ
เดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก
ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก
จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)
ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)
ลักษณะของระบบเอ็มไอเอสที่ดี
ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
ระบบ
เอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง
เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ ระบบเอ็มไอเอส
จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปของ
องค์กร
ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
MIS ที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1.
MIS ถูกนำไปใช้การตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ
ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเรียกค้นข้อมูลได้รวดเร็ว
แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured Problems)
เน้นการแก้ปัญหาที่เกิดกับงานประจำ
2. MIS เป็นระบบงาน
ซึ่งผสมผสานข้อมูลจากหลาย ๆ แหลางหรือระบบย่อยหลาย ๆ
ระบบที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อจัดทำสารสนเทศเป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ของทั้ง
ระบบ
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ
จะเริ่มจากความต้องการและความเห็นชอบของผู้บริหารเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศให้
แก่ผู้บริหารช่วยในการตัดสินใจและบรรลุจุดมุ่งหมายโดยรวมองค์กร
4. MIS จะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เนื่องจากข้อมูลในองค์กรหนึ่ง
ๆ มีเป็นจำนวนมากและมีความสลับซับซ้อน คอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เพื่อสร้าง
MIS ให้แก่ผู้บริหาร ใช้ในการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและเหมาะสม
5.
สารสนเทศนั้นจะถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับพนักงาน
เครื่องจักร เงินทุนและวัตถุดิบ จุดมุ่งหมายของ MIS
คือจัดทำสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรเพื่อใช้ควบคุม
การทำงานและการจัดการขององค์กร
6.
ทำการจัดเก็บข้อมูลสร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้
ซึ่งฐานข้อมูลนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว
วัตถุประสงค์คือต้องการจะหลีกเลี่ยงความซับซ้อนของการเก็บข้อมูล
7.
การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ MIS
จะไม่ประสบความสำเร็จถ้าปราศจากจากความร่วมมือและความพอใจของผู้ใช้งานถึง
แม้ว่ามีระบบที่ดีเพียงใดก็ตามถ้าผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกต่อต้านและคดว่า
MIS จะมาแย่งงานของตนไป
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
MIS
สามารถรวบรวมและสรุปข้อมูลที่มีรายละเอียดต่าง ๆ
เพื่อสร้างสารสนเทศให้กับผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการสรุปผล การวิเคราะห์
การวางแผน เป็นต้น การที่ระบบสารสนเทศจะมีความสามารถดังกล่าว
จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ
1.
เครื่องมือในการสร้าง MIS ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์
(Software) และฐานข้อมูล (Database) ฮาร์ดแวร์ คือ
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการประมวลซอฟต์แวร์ คือ
โปรแกรมคำสั่งที่ใช้ในการรวมและสรุปข้อมูลฐานข้อมูล คือ
การเก็บรวมรวมข้อมูลที่จำเป็นไว้ ณ
ศูนย์กลางและสามารถนำมาใช้ในงานเมื่อมีความต้องการได้
ข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญของ MIS
ข้อมูลที่ดีนอกจากมีคุณสมบัติของความเชื่อมั่นถือได้แล้วยังต้องได้รับการ
จัดเก็บเป็นระบบที่ดีสามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ซ้ำซ้อน
อันจะทำให้กิจการดำเนินไปอย่างได้ผล
2.
วิธีการหรือขั้นตอนการปะมวลผล ได้แก่
ลำดับของการประมวลข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อสร้างสารสนเทศที่ต้องการ ลักษณะที่สำคัญของการประมวลผลข้อมูล คือ
2.1 ทำการประมวลผลข้อมูลทั่วไป
2.2 ใช้ข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก
2.3 ระยะเวลาในการใช้ข้อมูลเป็นระยะสั้นส่วนมากใช้กับการปฏิบัติงานประจำวัน
2.4 ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้มักเป็นระบบออนไลน์ (On-line
Processing) ซึ่งเป็นวิธีการประมวลผลที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
แล้วทำการประมวลผลทันที โดยไม่มีการเก็บรอหรือสะสมข้อมูลไว้ก่อน
3. มีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นฐานข้อมูล
ซึ่งเป็นฐานข้อมูลนั้นเกิดจากความคิดที่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้
เพื่อเป็นศูนย์กลางของข้อมูลในการใช้ข้อมูลร่วมกันและช่วยลดความซ้ำซ้อนของ
ข้อมูล
4. การแสดงผลลัพธ์ MIS
จะจัดทำสารสนเทศซึ่งจะจำเป็นสำหรับผู้บริหารที่จะใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับ
กิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจหรือองค์กร
ผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศต้องสามารถเรียกใช้งาน
หรือแสดงผลได้รวดเร็วและมักอยู่ในรูปของรายงานแบบต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นในรูปของตารางหรือการแสดงโดยใช้กราฟ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง
กราฟกลม เป็นต้น
5. มีการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรข้อมูล
เพื่อควบคุมการทำงานระบบ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของความต้องการ MIS สำหรับองค์กร
ในการดำเนินงานขององค์กร ต่าง ๆ นั้น
สารสนเทศนับว่ามีบทบาทที่สำคัญต่อองค์กรมาก
เพราะจะต้องแข่งขันให้ทันกับเวลา ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานต่าง ๆ
จึงได้มีการพัฒนา MIS ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1.
การบริหารงานมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากปริมาณงานเพิ่มขึ้น
องค์กรขยายใหญ่ขึ้น ปัญหาภายในและภายนอกองค์กรมีมากขึ้น
การเตรียมการขยายตัวขององค์กรในอนาคต เนื่องจากการขยายตัว
ขององค์กรและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
ระบบที่ออกแบบจะต้องรองรับการขยายตัวทั้งจำนวนพนักงาน
และปริมาณงานขององค์กรที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งซับซ้อนในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
2. ความจำเป็นในเรื่องกรอบเวลา
ปัจจุบันผู้บริหารต้องสามารถปฏิบัติงานในกรอบของเวลาที่สั้นลง
เพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันต่าง ๆ
และการที่สังคมมีการใช้ระบบสื่อสารข้อมูลที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น
เป็นผลทำให้การแข่งขันในธุรกิจมีมากขึ้นตามลำดับ
3.
การพัฒนาทางเทคนิค คือ เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ
เช่น ใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์
แยกแยะจัดสรรข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
ยิ่งในปัจจุบันมีความต้องการใช้ระบบสารสนเทศกันอย่างแพร่หลาย
มีการนำเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในการติดต่อทางด้านธุรกิจ
เช่น การสั่งซื้อสินค้า ตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับต่างประเทศ
เป็นต้น
4.
การตระหนักถึงคุณค่าและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ
โดยเฉพาอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง
มีความสามารถมากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์จะแพร่หลาย อย่างรวดเร็ว
ระบบสื่อสารมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นจึงเป็นผลที่จะทำให้องค์กรต่าง ๆ
ต้องใช้เทคโนโลยีในการสร้าง MIS
การทำงานขององค์การออกเป็น 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
1.
การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
เทคโนโลยีหลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ
และส่งผลให้กระบวนการในการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป ตัวอย่างเช่น
การนำเอาเทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail)
เข้ามาใช้ภายในองค์การ
ทำให้การส่งข่าวสารไม่ต้องใช้พนักงานเดินหนังสืออีกต่อไป
ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสาร
และสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ต้องการได้เป็นจำนวนมาก และรวดเร็ว
หรือเทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
ที่เปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการทำงานและประสานงานของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ
ขององค์การ
2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
โดยเทคโนโลยีสารสนเทศผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนว
ทางในการตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน
โดยอนาคตการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความรุนแรงมากขึ้น
การบริหารงานของผู้บริหารที่อาศัยเพียงประสบการณ์และโชคชะตาอาจจะไม่เพียงพอ
แต่ถ้าผู้บริหารมีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาประกอบในการตัดสินใจ
ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น
ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจะต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้าง
สารสนเทศที่ดีให้กับตนเองและองค์การ
3.
เครื่องมือในการทำงาน เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ
เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน
โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น
หรือแม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของแรงงาน และวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ
ลง แต่ยังคงรักษา
หรือเพิ่มคุณภาพในการทำงานหรือการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น
ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเทคโนโลยีจะถูกนำเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลง
และปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินขององค์การมากขึ้นในอนาคต
4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ PC ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตลอดจนการใช้งานสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีชุดคำสั่งประยุกต์ (Application
Softwareอีกมากมายที่สามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และผลผลิตของงานได้อย่างมาก
และเมื่อต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับระบบเครือข่าย
ก็จะทำให้องค์การสามารถรับส่งข้อมูลและข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ
ได้อีกด้วย
ดังนั้นในอนาคตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะกลายเป็นเครื่องมือหลักของพนักงานและ
ผู้บริหารขององค์การ
5. เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร
ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็น
เพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพจากทั้งภายในองค์การหรือภายนอก
องค์การ โดยไม่จำกัดขอบเขตว่าผู้ใช้จะอยู่ห่างไกลกันเท่าใด
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถติดต่อเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
ได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลก
คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญมากกว่าการเป็นเครื่องที่เก็บและประมวลผล
ข้อมูลเหมือนอย่างในอดีตต่อไป
เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
1.
คอมพิวเตอร์ (Computer)
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า
ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (Very
Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์
(Microprocessor)
ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูก
ลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน
โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน
ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer)
หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ
นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ
ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลัก
เหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์
2. ปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence ; AI)
เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหา
และให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง
ปัจจุบันที่นักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษา
และทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล
โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์
ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์
ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น
ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้น
เพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์
(Robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงาน
และใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System ;
EIS)
เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ของ
องค์การ โดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจ
เมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS
เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น
เพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น
สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย
โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน
เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรง
กับระบบคอมพิวเตอร์
4. การจดจำเสียง (Voice Recognition)
เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้
ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยา
ศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ
มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียงก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้
งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์
ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับ
ระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น
ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
และขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
5.
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Data Interchange ; EDI)
เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์
อื่น โดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น
การส่งคำสั่งซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง
ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
เรื่อย ๆ เพราะช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง
โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น
ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่
ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
6.
เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optics)
เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
โดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน
การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ
"ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway)"
นี้จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ
ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชน
และการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
7.
อินเตอร์เน็ต (Internet)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก
มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้
ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันให้ประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือ
ข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
8. ระบบเครือข่าย (Networking System) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่
(Local Area Network, LAN)
เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในการระยะทางที่กำหนด
ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN
จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น
รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน
และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร
นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจาย
ความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
9. การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น
คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน
เพื่อใช้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ
โดยผู้เข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน
ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด
ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
10.
โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (Cable and Sattlelite TV)
การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม
จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่
กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น
ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ
ได้เหมาะสมขึ้น
11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia
Technology)
เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูล
หรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง
โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้
และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้าน
คอมพิวเตอร์
12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (Computer
Based Training)
เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ
หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า
"คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ CAI"
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้
โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design ; CAD)
เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์
รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออก
แบบวิศวกรรม
และสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง
ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา
การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
14.
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต(Computer Aided Manufacturing ; CAM)
เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงานอุตสาหกรรม
เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำ
กัน
ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่
ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน
ประการสำคัญช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด
15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information System ; GIS)
เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (Graphics)
และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS
สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น
การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)
การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น การวางแผนทางการตลาด
การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย
เป็นต้น
การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทที่สำคัญต่อวิถีชีวิต
และสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการ
เปลี่ยนแปลงและโอกาสให้แก่องค์การ
เช่นเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์และการแข่งขันในอุตสาหกรรม
ปรับโครงสร้างการดำเนินงานขององค์การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ
เป็นต้นเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ในการติดต่อสื่อสาร
และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทำให้มีการพัฒนาและกระจายตัวของภูมิปัญญา
ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยี
โดยที่ผู้บริหารจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับองค์การดังต่อไปนี้
1. ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน
2. ระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขององค์การ
3. วางแผนที่จะสร้างและพัฒนาระบบ
โดยที่การเตรียมงานเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การประสบ
ความสำเร็จ ควรประกอบด้วยการเตรียมการในด้านต่อไปนี้
1.
บุคลากร การเตรียมบุคลากรให้พร้อมเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะสร้างและพัฒนา
ตลอดจนการใช้งานระบบสารสนเทศเมื่อจัดสร้างเรียบร้อยแล้ว
บุคลากรที่ต้องจัดเตรียมควรเป็นทั้งระดับผู้บริหาร นักเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักวิชาชีพเฉพาะ และพนักงานปฏิบัติการ เพื่อให้มีความรู้ทักษะ
และความเข้าใจในขีดความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยการจัดฝึกอบรมหรือบรรยายพิเศษ
รวมทั้งการสรรหาบุคลากรทางสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งในปัจจุบัน
และอนาคตของหน่วยงาน
2. งบประมาณ
เตรียมกำหนดจำนวนเงินและวางแนวทางในการจัดหาเงินที่จะมาพัฒนาระบบสารสนเทศ
ให้เพียงพอกับแผนที่วางไว้ ตลอดจนจัดทำงบประมาณสำหรับการพัฒนาระบบในอนาคต
เนื่องจากเทคโนโลยีขององค์การอาจจะล้าสมัย
และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในระยะเวลาสั้น
3.
การวางแผน ผู้บริหารต้องจัดทำแผนการจัดสร้างหรือพัฒนาระบบทั้งในระยะสั้น
และระยะยาว ซึ่งอาจจะต้องมีการจัดตั้งคณะทำงาน
ซึ่งอาจจะประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ใช้ นักออกแบบระบบ
และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาปฏิบัติงานร่วมกัน
องค์การที่เจริญเติบโตในอนาคตต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีเข้าไปในโครงสร้าง
การบริหารงาน
และการติดต่อสื่อสารโดยเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเส้นประสาทของ
ธุรกิจ
แต่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและ
บุคลากรมากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการลดขั้นตอนในการทำงาน
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วน
รวม เช่น การไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตขององค์การและเขตแดนของประเทศ
การติดตามผลและตรวจสอบการทำงานกับความเป็นส่วนตัวของพนักงาน
การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย
การก่อนการร้ายหรือการโจรกรรมซึ่งผู้บริหารจะต้องติดตามทำความเข้าใจใน
ศักยภาพและผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อองค์การและสังคม
เพื่อให้เลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและก่อให้เกิดผลกระทบในด้าน
ลบน้อยที่สุดต่อองค์การและสังคมแวดล้อม
สรุปการนำหลักการ MIS ไปใช้ในองค์การ
แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ
แสดงให้เราเห็นได้ว่าในอนาคตผู้ที่จะเป็นนักบริหารและนักวิชาชีพที่ประสบ
ความสำเร็จจะต้องไม่เพียงแค่รู้จักคอมพิวเตอร์
แต่จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ
และรู้จักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยผู้บริหารในอนาคตจะต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับงานของตนเอง
มีความคิดในการที่จะสร้างระบบสารสนเทศที่ตนเองต้องการ
เพื่อช่วยในการตัดสินใจในภาวะที่มีการแข่งขันสูง
ทำให้การบริหารของตนเองมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด
ขณะที่นักวิชาชีพจะใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวม และประมวลผล
และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
ผ่านระบบเครือข่ายอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น